ให้นักศึกษาอ่านรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 แล้วตอบคำถามดังต่อไปนี้
1.ประเด็นที่อ่านแล้วมีอะไรที่น่าสนใจ
หมวดที่ ๑
บททั่วไป
มาตรา ๑ ประเทศไทยเป็นราชอาณาจักรอันหนึ่งอันเดียว จะแบ่งแยกมิได้
มาตรา ๒ ประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
มาตรา ๓ อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นประมุขใช้อำนาจนั้นทางรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และศาล ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้
1.การปฏิบัติหน้าที่ของรัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล รวมทั้งองค์กรตามรัฐธรรมนูญ และหน่วยงานของรัฐต้องเป็นไปตามหลักนิติธรรม
มาตรา ๔ ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคของบุคคล ย่อมได้รับความคุ้มครอง
มาตรา ๕ ประชาชนชาวไทยไม่ว่าเหล่ากำเนิด เพศ หรือศาสนาใด ย่อมอยู่ในความคุ้มครองแห่งรัฐธรรมนูญนี้เสมอกัน
มาตรา ๖ รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ บทบัญญัติใดของกฎหมาย กฎ หรือข้อบังคับ ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญนี้ บทบัญญัตินั้นเป็นอันใช้บังคับมิได้
มาตรา ๗ ในเมื่อไม่มีบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้บังคับแก่กรณีใด ให้วินิจฉัยกรณีนั้นไปตามประเพณีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหา กษัตริย์ทรงเป็นประมุข
หมวดที่๓
สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย
ส่วนที่๒
ความเสมอภาค
มาตราที่ ๓๐ บุคคลย่อมเสมอกันในกฎหมายและได้รับความคุ้มครองในกฎหมายเท่าเทียมกัน ชายและหญิงเท่าเทียมกัน
มาตราที่ ๓๗ บุคคลย่อมมีเสรีภาพสมบูรณ์ในการนับถือศาสนา นิกายของศาสนา หรือลัทธินิยมในทางศาสนา และย่อมมีเสรีภาพในการในการปฏิบัติตามศาสนธรรม ศาสนบัญญัติ หรือปฏิบัติพิธีกรรมตามความเชื่อของตน เมื่อไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อหน้าที่ของพลเมืองและไม่เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศิลธรรมอันดีของประชาชน
หมวด ๔
หน้าที่ของชนชาวไทย
ส่วนที่๔
แนวนโยบายด้านศาสนา สังคม การสาธารณสุข การศึกษา และวัฒนธรรม
มาตรา ๘๐ รัฐต้องดำเนินการตามแนวนโยบายด้านสังคม การสาธารณสุข การศึกษา และวัฒนธรรมดังต่อไปนี้
(๑) คุ้มครองและพัฒนาเด็กและเยาวชน สนับสนุนการอบรมเลี้ยงดู และให้ การศึกษาปฐมวัย ส่งเสริม ความเสมอภาคของหญิงและชาย เสริมสร้างและพัฒนาความเป็นปึกแผ่นของสถาบันครอบครัวและชุมชน รวมทั้งต้องสงเคราะห์และจัดสวัสดิการให้แก่ผู้สูงอายุ ผู้ยากไร้ ผู้พิการหรือทุพพลภาพ และผู้อยู่ในสภาวะยากลำบาก ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นและพึ่งพาตนเองได้
(๒) ส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาระบบสุขภาพที่เน้นการสร้างเสริมสุขภาพอันนําไปสู่สุขภาวะที่ยั่งยืนของประชาชน รวมทั้งจัดและสร้างเสริมให้ประชาชนได้รับบริการสาธารณสุขที่มีมาตรฐานอย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ และสร้างเสริม ให้เอกชนและชุมชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาสุขภาพและการจัดบริการสาธารณสุข โดยผู้มีหน้าที่ ให้บริการดังกล่าวซึ่งได้ปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรฐานวิชาชีพและจริยธรรม ย่อมได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย
(๓) พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการจัดการศึกษาในทุกระดับและทุกรูปแบบให้สอดคล้องกับ ความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม จัดให้มีแผนการศึกษาแห่งชาติกฎหมายเพื่อพัฒนา
2.สิ่งที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาวิชานี้ตรงกับรัฐธรรมนูญในประเด็นใดบ้าง
หมวดที่ ๓
สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย
ส่วนที่๘
สิทธิและเสรีภาพในการศึกษา
มาตรา ๔๙ บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษาไม่น้อยกว่า 12 ปีที่รัฐจะต้องจัดให้ทั่วถึงและมีคุณภาพ โดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย
ผู้ยากไร้ ผู้พิการหรือทุพพลภาพ หรือผู้อยู่ในภาวะยากลำบาก ต้องได้รับสิทธิตามวรรคหนึ่งและการสนับสนุนจากรัฐเพื่อให้ได้รับการศึกษาโดยทัดเทียมกับบุคคลทั่วไป
การจัดการศึกษาอบรมขององค์กรวิชาชีพหรือเอกชน การศึกษาทางเลือกของประชาชน การเรียนรู้ด้วยตนเอง และเรียนรู้ตลอดชีวิต ย่อมได้รับความคุ้มครองและส่งเสริมที่เหมาะสมจากรัฐ
หมวด ๔
หน้าที่ของชนชาวไทย
ส่วนที่๔
แนวนโยบายด้านศาสนา สังคม การสาธารณสุข การศึกษา และวัฒนธรรม
มาตรา ๘๐ รัฐต้องดำเนินการตามแนวนโยบายด้านสังคม การสาธารณสุข การศึกษา และวัฒนธรรม ดังต่อไปนี้
(๑) คุ้มครองและพัฒนาเด็กและเยาวชน สนับสนุนการอบรมเลี้ยงดูและให้การศึกษาปฐมวัย ส่งเสริมความเสมอภาคของหญิงและชาย เสริมสร้างและพัฒนาความเป็นปึกแผ่นของสถาบันครอบครัวและชุมชน รวมทั้งต้องสงเคราะห์และจัดสวัสดิการให้แก่ผู้สูงอายุ ผู้ยากไร้ ผู้พิการหรือทุพพลภาพ และผู้อยู่ในสภาวะยากลำบาก ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นและพึ่งพาตนเองได้
(๒) ส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาระบบสุขภาพที่เน้นการสร้างเสริมสุขภาพอันนำไปสู่สุขภาวะที่ยั่งยืน ของประชาชน รวมทั้งจัดและส่งเสริมให้ประชาชนได้รับบริการสาธารณสุขที่มีมาตรฐานอย่าง ทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ และส่งเสริมให้เอกชนและชุมชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาสุขภาพและการจัดบริการ สาธารณสุข โดยผู้มีหน้าที่ให้บริการดังกล่าวซึ่งได้ปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรฐานวิชาชีพ และจริยธรรม ย่อมได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย
(๓) พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการจัดการศึกษาในทุกระดับและทุกรูปแบบให้สอดคล้องกับ ความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม จัดให้มีแผนการศึกษาแห่งชาติ กฎหมายเพื่อพัฒนาการศึกษาของชาติ จัดให้มีการพัฒนาคุณภาพครูและบุคลากรทางการศึกษาให้ก้าวหน้าทันการเปลี่ยน แปลงของสังคมโลก รวมทั้งปลูกฝังให้ผู้เรียนมีจิตสำนึกของความเป็นไทย มีระเบียบวินัย คำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวม และยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
(๔) ส่งเสริมและสนับสนุนการกระจายอำนาจเพื่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ชุมชน องค์การทางศาสนา และเอกชน จัดและมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนามาตรฐานคุณภาพการศึกษาให้เท่า เทียมและสอดคล้องกับแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ
(๕) ส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษาวิจัยในศิลปวิทยาการแขนงต่าง ๆ และเผยแพร่ข้อมูลผลการศึกษาวิจัยที่ได้รับทุนสนับสนุนการศึกษาวิจัยจากรัฐ
(๖) ส่งเสริมและสนับสนุนความรู้รักสามัคคีและการเรียนรู้ ปลูกจิตสำนึก และเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีของชาติ ตลอดจนค่านิยมอันดีงามและภูมิปัญญาท้องถิ่น
3.ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับความรู้และความจำที่น่าจะนำไปตอบข้อสอบได้มีอะไรบ้าง ยกตัวอย่าง
- การเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคลเพราะเหตุแห่งความแตกต่างในเรื่องถิ่น กำเนิด เชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุ ความพิการ สภาพทางกายหรือสุขภาพ สถานะของ บุคคล ฐานะทางเศรษฐกิจหรือสังคม ความเชื่อทางศาสนา การศึกษาอบรม หรือความคิดเห็นทางการเมืองอันไม่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ จะกระทำมิได้
- มาตรการที่รัฐกำหนดขึ้นเพื่อขจัดอุปสรรคหรือส่งเสริมให้บุคคลสามารถใช้สิทธิและเสรีภาพได้เช่นเดียวกับบุคคลอื่น ย่อมไม่ถือเป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมตามวรรคสาม
-ผู้ยากไร้ ผู้พิการหรือทุพพลภาพ หรือผู้อยู่ในสภาวะยากลำบาก ต้อง ได้รับสิทธิตามวรรคหนึ่งและการสนับสนุนจากรัฐเพื่อให้ได้รับการศึกษาโดยทัด เทียมกับบุคคลอื่นการจัดการศึกษาอบรมขององค์กรวิชาชีพหรือเอกชน
-การศึกษาอบรม การเรียนการสอน การวิจัย และการเผยแพร่งานวิจัยตามหลักวิชาการ ย่อมได้รับความคุ้มครอง ทั้งนี้ เท่าที่ไม่ขัดต่อหน้าที่ของพลเมืองหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
-เด็กและเยาวชน มีสิทธิในการอยู่รอดและได้รับการพัฒนาด้านร่างกาย จิตใจและสติปัญญา ตามศักยภาพในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม โดยคำนึงถึงการมีส่วนร่วมของเด็กและเยาวชนเป็นสำคัญ
-บำรุงรักษาและการได้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพ และในการคุ้มครองส่งเสริม และรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ดำรงชีพอยู่ได้อย่างปกติและต่อเนื่องในสิ่งแวดล้อมที่จะไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพอนามัย สวัสดิภาพ หรือคุณภาพชีวิตขอตน ย่อมได้รับความคุ้มครองตามความเหมาะสม
-บุคคลมีหน้าที่รับราชการทหาร ช่วยเหลือในการป้องกันและบรรเทาภัยพิบัติ
-สาธารณะ เสียภาษีอากร ช่วยเหลือราชการ รับการศึกษาอบรม พิทักษ์ ปกป้อง และสืบสานศิลปวัฒนธรรมของชาติและภูมิปัญญาท้องถิ่น และอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ตามที่กฎหมายบัญญัติ
-รัฐต้องดำเนินการตามแนวนโยบายด้านสังคม การสาธารณสุข การศึกษา และวัฒนธรรม
-ส่งเสริมให้มีการพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมด้านต่าง ๆโดยจัดให้มีกฎหมายเฉพาะเพื่อการนี้ จัดงบประมาณสนับสนุนการศึกษา ค้นคว้า วิจัยและให้มีสถาบันการศึกษาและพัฒนา จัดให้มีการใช้ประโยชน์จากผลการศึกษาและพัฒนาการถ่ายทอดเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพ และการพัฒนาบุคลากรที่เหมาะสม รวมทั้งเผยแพร่ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสมัยใหม่ และสนับสนุนให้ประชาชนใช้หลักด้านวิทยาศาสตร์ในการดำรงชีวิต
-การส่งเสริมการประดิษฐ์หรือการค้นคิดเพื่อให้เกิดความรู้ใหม่ รักษาและพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นและภูมิปัญญาไทย รวมทั้งให้ความคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา
-การส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัย พัฒนา และใช้ประโยชน์จากพลังงานทดแทนซึ่งได้จากธรรมชาติและเป็นคุณต่อสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ
-การส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายและวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมทั้งในระดับชาติและระดับท้องถิ่น
-การส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการตัดสินใจทางการเมืองการวางแผนพัฒนาทางเศรษฐกิจ และสังคม รวมทั้งการจัดทำบริการสาธารณะ
-การส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ ทุกระดับในรูปแบบองค์กรทางวิชาชีพหรือตามสาขาอาชีพที่หลากหลาย หรือรูปแบบอื่น
-การส่งเสริมการศึกษา การวิจัย และการเผยแพร่ความรู้ด้านสิทธิมนุษยชน
4.ทำไมเราต้องมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ให้นักศึกษาบอกเหตุผลประกอบการอภิปราย
รัฐธรรมนูญ (Constitution) เป็นสถาบันทางการเมืองแม่บท ที่กำหนดขอบเขตอำนาจหน้าที่และกระบวนการทางการเมืองของสถาบันทางการเมือง อื่นๆ ให้อยู่ภายใต้ขอบเขตของ รัฐธรรมนูญ ที่กำหนดหรืออาจกล่าวได้ว่ารัฐธรรมนูญ คือ กฎหมายสูงสุด ( Supreme Law ) และเป็นกฎหมายขั้นมูลฐาน ( Fundamental Law ) ของประเทศโดยรัฐธรรมนูญ กำหนดโครงสร้างรูปแบบและแนวทางการปกครองประเทศ ตลอดจนความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับประชาชน ดังนั้นรัฐธรรมนูญจึงเป็นหัวใจสำคัญ ของการปกครองประเทศประชาชนที่อยู่ภายในประเทศจะต้องมีความรู้ความเข้าใจใน เรื่องของรัฐธรรมนูญของตน ในฐานะพลเมืองและเจ้าของประเทศ
5.นักศึกษามีความคิดเห็นอย่างไรในการที่ รัฐบาลจะแก้ไขรัฐธรรมนูญเพราะเหตุใดที่จะต้องแก้ไขและทำไมมีประชาชนบางกลุ่ม จึงคัดค้าน ขอให้นักศึกษาบอกถึงเหตุผลที่จะต้องแก้ไข
ประชาชนส่วนใหญ่ เห็นด้วยกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพราะจะทำให้การเมืองและสังคม กลับมาสามัคคีกัน ร้อยละ 35.10 ,รองลงมา ร้อยละ 34.23 คือ ไม่เห็นด้วย เพราะ เป็นการแก้ไขเพื่อประโยชน์ของนักการเมือง,อันดับ 3 ร้อยละ 30.00 ไม่แน่ใจ และอันดับสุดท้าย ร้อยละ 0.67ไม่แสดงความคิดเห็น
เมื่อถามถึงความจริงใจในการแก้รัฐธรรมนูญของรัฐบาลชุดปัจจุบัน ประชาชนส่วนใหญ่เห็นว่า ไม่จริงใจ เพราะการแก้ไขรัฐธรรมนูญยังไม่ใช่เป็นการทำเพื่อประชาชนอย่างแท้จริงแต่กลายเป็นเครื่องมือของนักการเมืองในการชิงความได้เปรียบและหาประโยชน์ใส่ตัว ร้อยละ 22.50 รองลงมา ร้อยละ 14.67 คือ จริงใจ เนื่องจากความล่าช้าเกิดจากปัจจุบันรัฐบาลประสบกับหลายปัญหาเร่งด่วนที่ควรแก้ไข เช่น เรื่องเศรษฐกิจ ปัญหาภาคใต้, อันดับ 3 ร้อยละ 14.00 ไม่จริงใจ เพราะเป็นการยื้อเวลาโดยสร้างสถานการณ์ความเห็นไม่ตรงกันภายในพรรครัฐบาล, อันดับ 4 ร้อยละ 13.13 ไม่จริงใจ เพราะเป็นการเบี่ยงเบนความสนใจของประชาชนและสื่อมวลชนจากการติดตามเรื่องการทุจริตในการใช้งบประมาณ,อันดับ 5 ร้อยละ 13.00 จริงใจ เพราะความล่าช้าเนื่องจากการแก้ไขรัฐธรรมนูญต้องมีเวทีให้ทุกฝ่ายเข้าร่วม, อันดับ 6 ร้อยละ 12.67 ไม่จริงใจ เพราะ เป็นการยื้อเวลาเพื่อสร้างผลงานและความประทับใจให้ประชาชน หวังผลการเลือกตั้ง, อันดับ 7 ร้อยละ 9.10 จริงใจ เพราะความขัดแย้งในพรรคร่วมรัฐบาลเป็นเรื่องธรรมดา และอันดับสุดท้าย ร้อยละ 1.47 ไม่แสดงความคิดเห็น
ส่วนประเด็นที่ควรแก้ไขในรัฐธรรมนูญมากที่สุด ร้อยละ 34.47 ประชาชนส่วนใหญ่เห็นว่า การแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนให้แก่ประชาชนของ ส.ส. และส.ว. (มาตรา 266), รองลงมา ร้อยละ 23.10 คือ ประเด็นยุบพรรคการเมือง เเละการเพิกถอนสิทธิ์เลือกตั้งของหัวหน้าพรรคการเมืองและกรรมการบริหาร (มาตรา 237), อันดับ 3 ร้อยละ 11.10 การทำหนังสือสัญญาที่ต้องได้รับความเห็นชอบของสภา (มาตรา 190),อันดับ 4 ร้อยละ 11.03 การดำรงตำแหน่งทางการเมือง ของ ส.ส. (มาตรา 265), อันดับ 5 ร้อยละ 10.50 ที่มาของ ส.ส. (มาตรา 93-98),อันดับ 6 ร้อยละ 6.97 ที่มาของ ส.ว. (มาตรา 111-121) และอันดับสุดท้าย ร้อยละ 2.83 ไม่แสดงความคิดเห็น
เมื่อถามว่าประชาชนควรจะทำอย่างไร ท่ามกลางสถานการณ์การเมืองไทยขณะนี้ประชาชนส่วนใหญ่เห็นว่า ควรจะติดตามข่าวสารการเมืองอย่างต่อเนื่อง ร้อยละ 39.17 ,รองลงมา ร้อยละ 33.57 คือ ช่วยกันแสดงความคิดเห็นของตนเองไม่ว่าจะเป็นรูปแบบใดก็ตามไม่ควรนิ่งเฉยเพราะว่าเป็นสิทธิ์ของประชาชน, อันดับ 3 ร้อยละ 14.83ควรจะอ่านรัฐธรรมนูญจะได้เข้าใจสาระสำคัญ, อันดับ 4 ร้อยละ 11.17 อยู่เฉยๆ เพราะมีตัวแทนอยู่ในสภาแล้ว และอันดับสุดท้าย ร้อยละ 1.27ไม่แสดงความคิดเห็น
สำหรับความคิดเห็นเพิ่มเติมในประเด็นนี้ ดร.ปิยากร หวังมหาพร ผู้อำนวยการสำนักวิจัย ได้ให้ความคิดเห็นเพิ่มเติมว่า ในปัจจุบันสภาพปัญหาการเมืองไทยถือได้ว่าอยู่ในขั้นวิกฤติ เกิดการแตกแยกของประชาชนในประเทศ มีการแบ่งเป็นพรรค เป็นพวก เกิดการแตกความสามัคคีของคนในชาติ นักการเมืองก็เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตนมากกว่าส่วนรวม ไม่ได้ทำเพื่อประเทศชาติอย่างแท้จริง ความคิดเห็นของประชาชนที่เห็นด้วยกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญและไม่เห็นด้วยกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญอยู่ในสัดส่วนใกล้เคียงกันอย่างมาก น่าจะมีสาเหตุมาจากประเด็นปัญหาการแก้ไขรัฐธรรมนูญยังมีการโต้แย้งกันอย่างหนักในสังคม ขาดทิศทางที่ชัดเจนและไม่สามารถหาข้อสรุปได้
ประชาชนที่เห็นด้วยกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ มองว่า การแก้ไขจะเป็นหนทางทำให้การเมืองและสังคมกลับมาสามัคคีกัน สำหรับประชาชนที่ไม่เห็นด้วย เป็นเพราะการแก้ไขนั้นเป็นไปเพื่อประโยชน์ของนักการเมือง จึงไม่มีประโยชน์ถ้าจะมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพราะไม่ได้ช่วยให้ประโยชน์ส่วนรวมดีขึ้นแต่อย่างใด นอกจากนั้นยังมีกลุ่มประชาชนที่ไม่แน่ใจกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญอยู่มากเช่นกัน อาจจะเป็นเพราะ รอดูท่าทีที่ชัดเจนของการแก้ไขรัฐธรรมนูญจึงยังไม่แน่ใจว่าจะสนับสนุนหรือคัดค้าน
ส่วนด้านความจริงใจของรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ในด้านหนึ่ง ประชาชนกว่าร้อยละ 60 เห็นว่า รัฐบาลไม่มีความจริงใจในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยให้เหตุผลว่าเป็นเพราะรัฐบาลขาดความชัดเจนและประชาชนเห็นว่าการแก้ไขหรือไม่แก้ไขได้กลายเป็นเครื่องมือของนักการเมืองในการชิงความได้เปรียบและหาผลประโยชน์ส่วนตัว ในอีกด้านหนึ่ง ประชาชนที่เห็นว่ารัฐบาลมีความจริงใจในการแก้ไข แต่อาจจะเกิดความล่าช้าไปบ้างเนื่องจากมีปัญหาหลายด้านที่ต้องแก้ไขเร่งด่วนทั้งปัญหาปากท้องของประชาชนและปัญหาภาคใต้ แต่ความจริงใจก็ยังอยู่ในระดับต่ำกว่า เพียงร้อยละ 36.74 เท่านั้น
ท่ามกลางสถานการณ์การเมืองขณะนี้ หัวใจสำคัญในการคงไว้ซึ่งความเป็นประชาธิปไตยของประเทศ ความร่วมมือร่วมใจของประชาชนจึงเป็นสิ่งสำคัญ โดยประชาชนส่วนใหญ่บอกว่าจะติดตามข่าวสารทางการเมืองอย่างต่อเนื่อง และช่วยกันแสดงความคิดเห็นของตนเอง ไม่ว่าจะในรูปแบบใดก็ตาม จะไม่นิ่งเฉยเพราะว่าเป็นสิทธิของประชาชน แสดงให้เห็นว่าประชาชนชาวไทยให้ความสนใจกับการเมืองในขณะนี้อย่างยิ่ง และต้องการมีส่วนร่วมทางการเมือง อยากจะแสดงความคิดเห็นของตน เพื่อช่วยกันแก้ปัญหาทางการเมือง หากต้องมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญจริงประชาชนเห็นว่าประเด็นที่ควรจะแก้ไขมากที่สุด คือ มาตรา 266 เรื่องการแทรกแซงการทำงานของข้าราชการประจำ อาจเป็นเพราะประชาชนเห็นว่าสส.และสว. ที่มาจากการเลือกตั้งเป็นตัวแทนของประชาชนควรมีสิทธิติดตาม ทวงถาม ปกป้องผลประโยชน์ของประชาชน ไม่ควรปล่อยให้การบริการสาธารณะต่างๆ ดำเนินการโดยส่วนราชการเพียงลำพัง
6.ปัจจุบันการปกครองประเทศมีอำนาจทั้ง 3 อำนาจที่จะต้องมีความสมดุลซึ่งกันและกัน และนักศึกษามองถึงปัญหารัฐสภา สภาผู้แทนราษฎร์ สภานิติบัญญัติ มีภาวะที่ดำรงอยู่อย่างไร มีความมั่งคงที่จะรักษาความเสถียรต่อการบริหารบ้านเมืองหรือไม่ขอให้นักศึกษาอภิปรายและแสดงความคิดเห็นในประเด็นดังกล่าว
การปกครองประเทศ อำนาจทั้ง 3 คือ รัฐสภา สภาผู้แทนราษฎร สภานิติบัญญัติ มีความสมดุลซึ่งกันและกัน มีภาวะที่ดำรงอยู่ที่มั่นคงและยังทำหน้าที่เป็นตัวแทนของประชาชน มีความสามารถที่จะรักษาความมั่นคงและเสถียรภาพการบริหารบ้านเมืองได้ แต่อยากให้เจ้าหน้าที่ทุกหน่วยงาน ทุกฝ่าย ตระหนักถึงหน้าที่ของตนเองที่จะต้องทำเพื่อประโยชน์ส่วนรวมและเพื่อประเทศชาติ ให้มีความเจริญก้าวหน้าต่อไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น