1. ความหมายของกฎหมาย มีผู้ให้คำนิยามไว้ดังนี้ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ พระบิดาแห่งกฎหมายไทย ทรงอธิบายว่า "กฎหมาย คือ คำสั่งทั้งหลายของผู้ปกครองแผ่นดินต่อราษฏรทั้งหลาย เมื่อไม่ทำตามต้องรับโทษ" (ออนไลน์) สืบค้นจากhttp://www.trueplookpanya.com/true/knowledge_detail.php?mul_content_id=2158 [12 พฤศจิกายน 2555].
2. ระบบการศึกษา หมายถึง การกำหนดหลักสูตร จุดมุ่งหมาย แนวนโยบาย ระบบการจัด และแนวทางในการจัดการศึกษา เพื่อให้การศึกษาช่วยพัฒนาชีวิตของคนไปในแนวทางที่พึงประสงค์ (ออนไลน์) สืบค้นจาก http://www.gotoknow.org/blogs/posts/174101? [12 พฤศจิกายน 2555].
3. หน้าที่ หมายถึง ภาระหรือความรับผิดชอบที่บุคคลจะต้องปฏิบัติตามกฏหมาย หน้าที่ (ออนไลน์) สืบค้นจาก http://webboard.gg.in.th/topic/44/111116 [12 พฤศจิกายน 2555].
4. คำกล่าวโทษ หมายถึง การที่บุคคลซึ่งไม่ใช่ผู้เสียหาย ได้เป็นผู้กล่าวหรือแจ้งต่อเจ้าหน้าที่ว่ามีการกระทำผิดอย่างหนึ่งอย่างใดขึ้นโดยจะรู้ตัวผู้กระทำผิดหรือไม่รู้ก็ตาม (ออนไลน์) สืบค้นจาก http://www.law.cmu.ac.th/law2011/goto.php?action=document&id=191 [12 พฤศจิกายน 2555].
5. หน้าที่ หมายถึง ภาระหรือความรับผิดชอบที่บุคคลจะต้องปฏิบัติตามกฏหมาย หน้าที่ (ออนไลน์) สืบค้นจาก http://webboard.gg.in.th/topic/44/111116 [10 พฤศจิกายน 2555].
6. การรับรองมาตรฐาน หมายถึง การให้การรับรองการทำการประเมินคุณภาพภายนอกของผู้ประเมินภายนอกที่มี คุณลักษณะ และคุณภาพที่พึงประสงค์ตามหลักเกณฑ์ และมาตรฐานที่สำนักงานกำหนดการจัดการความรู้ สำนักบรรณสารและสารสนเทศ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล (2554). การรับรองมาตรฐานการศึกษา (ออนไลน์) สืบค้นจาก http://library.vu.ac.th/km/?p=554 [12 พฤศจิกายน 2555].
7. รัฐธรรมนูญ หมายถึงกฎหมายสูงสุดในการจัดการปกครองรัฐ ถ้าแปลตามความหมายของคำ จะหมายถึง การปกครองรัฐอย่างถูกต้องเป็นธรรม (รัฐ + ธรรม + มนูญ)ในความหมายอย่างแคบ "รัฐธรรมนูญ" ต้องมีลักษณะเป็นลายลักษณ์อักษร และไม่ใช่สิ่งเดียวกับ กฎหมายรัฐธรรมนูญ เพราะ "กฎหมายรัฐธรรมนูญ" มีความหมายกว้างกว่าและจะเป็นรูปแบบลายลักษณ์อักษรหรือจารีตประเพณีก็ได้รัฐธรรมนูญในปัจจุบันนั้น มีทั้งเป็นลักษณะลายลักษณ์อักษร และลักษณะไม่เป็นลายลักษณ์อักษร โดยที่ลักษณะไม่เป็นลายลักษณ์อักษร (ออนไลน์) สืบค้นจาก http://library.vu.ac.th/km/?p=554 [12 พฤศจิกายน 2555].
8. แจ้งความเท็จ การนำเอาข้อเท็จจริงมาแจ้งต่อเจ้าพนักงาน โดยอาจแจ้งความด้วยวาจาหรือเป็นหนังสือก็ตาม ไม่ว่าการแจ้งนั้นจะมาแจ้งโดยตรงหรือแจ้งโดยการตอบคำถามของเจ้าพนักงาน ทั้งนี้ ผู้แจ้งจะต้องรู้ว่าข้อความที่ตนแจ้งนั้นเป็นเท็จ ถ้าผู้แจ้งไม่รู้ว่าข้อความนั้นเป็นเท็จก็ไม่มีความผิด
9. ทรัพยสิทธิ สิทธิที่มีวัตถุแห่งสิทธิเป็นทรัพย์สิน หรือสิทธิที่มีอยู่เหนือทรัพย์สิน เป็นสิทธิที่จะบังคับเอาแก่ตัวทรัพย์สินโดยตรง ทรัพยสิทธิจะก่อตั้งขึ้นได้โดยอาศัย อำนาจของกฎหมาย (จะมาทำสัญญาตั้งทรัพยสิทธิกันเองไม่ได้) เช่น กรรมสิทธิ์ สิทธิครอบครอง สิทธิอาศัย ภาระจำยอม สิทธิเก็บกิน สิทธิเหนือพื้นดิน สิทธิจำนอง สิทธิยึดหน่วง ฯลฯ
10. มาตรฐานการศึกษา หมายถึง ข้อกำหนดเกี่ยวกับคุณลักษณะที่พึงประสงค์และมาตรฐานที่ต้องการให้เกิดขึ้นใน สถานศึกษาทุกแห่ง และเพื่อใช้เป็นหลักในการเทียบเคียงสำหรับการส่งเสริมและกำกับดูแล การตรวจสอบ การประเมินผล และการประกันคุณภาพทางการศึกษาการจัดการความรู้ สำนักบรรณสารและสารสนเทศ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล (2554). มาตรฐานการศึกษา (ออนไลน์) สืบค้นจากhttp://library.vu.ac.th/km/?p=554 [12 พฤศจิกายน 2555].
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น