วันอังคารที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2556

สอบกลางภาค



สอบกลางภาค

ให้นักศึกษาอ่านแล้วตอบคำถามดังต่อไปนี้

1.กฎหมายคืออะไร จงอธิบาย และการบังคับใช้กฎหมายจะต้องเป็นไปด้วยความเสมอภาคโดยไม่เลือกปฏิบัติหมายความว่าอย่างไร

                ตอบ กฎหมาย หมายถึงคำสั่งหรือข้อบังคับความประพฤติของมนุษย์  ซึ่งผู้มีอำนาจสูงสุด หรือรัฏฐาธิปัตย์เป็นผู้บัญญัติขึ้นผู้ใดฝ่าฝืน มีสภาพบังคับ
            หลักความเสมอภาคถือเป็นหลักพื้นฐานประการหนึ่งในการรับรองและคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน ซึ่งมนุษย์ย่อมได้รับการรับรองและคุ้มครองจากกฎหมายอย่างเท่าเทียมกัน ในฐานะที่เป็นมนุษย์ โดยมิต้องคำนึงถึงคุณสมบัติอื่น เช่น เชื้อชาติ ศาสนา ฐานะ ถิ่นกำเนิด เป็นต้น หลักความเสมอภาคเป็นหลักประกันความเสมอภาคของพลเมืองทุกคนตามกฎหมาย เพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงการแบ่งแยกอย่างไม่เป็นธรรม และเป็นหลักประกันมิให้รัฐใช้อำนาจตามอำเภอใจ

2.การที่กฎหมายกำหนดให้ครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผูู้บริหารการศึกษา และบุคลากรทางการศึกษาอื่น ทั้งของรัีฐ และเอกชน จะต้องมีใบประกอบวิชาชีพ ท่านเห็นด้วยหรือไม่เพราะอะไร จงให้เหตุผลประกอบ

                ตอบ เห็นด้วย เพราะการที่ครู ผู้บริหารสถานศึกษาและบุคลากรทางการศึกษาอื่น มีใบประกอบวิชาชีพ ทำให้ มีเงื่อนไขให้ผู้ได้รับอนุญาตจะต้องพัฒนาตนเองให้มีคุณสมบัติตาม ข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณของวิชาชีพ พ.ศ. ๒๕๔๘เพื่อขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพต่อไป

3.ท่านมีแนวทางในการระดมทุน และทรัพยากรเพื่อการศึกษาในท้องถิ่นของท่านอย่างไรบ้าง อธิบายยกตัวอย่าง

               ตอบ การที่เรามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการเพื่อการศึกษาในท้องถิ่นของเรานั้น ทำให้เรามีความภาคภูมิใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่ง โดยที่เราได้แสดงความคิดเห็นและผู้ที่เกี่ยวข้องสามารถนำข้อคิดเห็นนั้นไปพัฒนาสถานศึกษาต่อ

ทรัพยากรที่ใช้ เช่น หนังสือ อุปกรณ์การเรียนต่างๆ เป็นต้น

4.รูปแบบการจัดการศึกษามีกี่รูปแบบอะไรบ้าง และการศึกษาในระบบมีกี่ระดับประกอบด้วยอะไรบ้าง
                ตอบ รูปแบบการจัดการศึกษามี 3 รูปแบบ คือ

                                1. การศึกษาในระบบ

                                2. การศึกษานอกระบบ

                                3.การศึกษาตามอัธยาศัย

                การศึกษาในระบบ มี 2 ระดับ ประกอบด้วย

                                1. ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งต้องจัดอย่าง 12 ปี ซึ่งรวมถึงการศึกษาปฐมวัยประถมศึกษาและมัธยมศึกษา

                               2. ระดับการศึกษาอุดมศึกษา หรือหลังการศึกษาขั้นพื้นฐานซึ่งจะแบ่งออกเป็นระดับต่ำกว่า

ปริญญา และปริญญา


5.ท่านเข้าใจการศึกษาภาคบังคับและการศึกษาขั้นพื้นฐานเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร อธิบายยกตัวอย่างประกอบ

                ตอบ แตกต่างกัน กล่าวคือ “การศึกษาภาคบังคับ” หมายความว่า การศึกษาชั้นปีที่หนึ่งถึง ชั้นปีที่เก้าของการศึกษาขั้นพื้นฐานตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ 
     ส่วนการศึกษาขั้นพื้นฐาน คือ การศึกษาที่รัฐต้องจัดให้ โดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย เป็นช่วงเวลาสิบสองปี โดยตั้งแต่การศึกษาชั้นประถม 1 ถึงมัธยมศึกษา 6 หรือเทียบเท่า


6.การแบ่งส่วนราชการในส่วนกลางของกระทรวงศึกษาธิการ ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ.2546 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2553 มีการแบ่งส่วนราชการเป็นอย่างไร และมีใครเป็นหัวหน้าส่วนราชการดังกล่าว อธิบายยกตัวอย่าง

                ตอบ  มาตรา ๑๐ การแบ่งส่วนราชการในส่วนกลางของกระทรวงศึกษาธิการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้ โดยให้มีหัวหน้าส่วนราชการขึ้นตรงต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ดังนี้

1. สำนักงานรัฐมนตรี                                                                                                                                           
2.สำนักงานปลัดกระทรวง                                                                                                                            
3.สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา                                                                                                     
4.สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน                                                                                                   
5.สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา                                                                                                                    
6. สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา

                มี "รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ" เป็นหัวหน้าส่วนราชการ

7.จงบอกเหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2546

                ตอบ การประกาศใช้พระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2546 เพื่อใช้เป็นกรอบหรือแนวปฏิบัติให้กับบุคลากรทางการศึกษาและผู้ที่มีใบประกอบวิชาชีพ ซึ่งทำให้เกิดการบริหารบุคคลมีประสิทธิภาพและไม่ล่าช้า

8.ท่านเข้าใจหรือไม่ว่า ถ้ามีบุคลากรไปให้ความรู้หรือสอนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นครั้งคราว หรือไปสอนเป็นประจำ หากพิจารณาจากพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2546 กระทำผิดตาม พรบ.นี้หรือไม่เพราะเหตุใด

                ตอบ ไม่ผิด เพราะตามพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2546 ได้กล่าวไว้ว่า ห้ามมิให้ผู้ใดประกอบวิชาชีพควบคุม โดยไม่ได้รับใบอนุญาตตามพระราชบัญญัตินี้ เว้นแต่กรณีอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้

1. ผู้ที่เข้ามาให้ความรู้แก่ผู้เรียนในสถานศึกษาเป็นครั้งคราวในฐานะวิทยากรพิเศษทางการศึกษา

2. ผู้ที่ไม่ได้ประกอบวิชาชีพหลักทางด้านการเรียนการสอนแต่ในบางครั้งต้องทำหน้าที่สอนด้วย   3.  นักเรียน นักศึกษา หรือผู้รับการฝึกอบรมหรือผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติการสอน ซึ่งทำการฝึกหัดหรืออบรมในความควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาซึ่งเป็นผู้ให้การศึกษาหรือฝึกอบรม ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการคุรุสภากำหนด

4.  ผู้ที่จัดการศึกษาตามอัธยาศัย                                                                                                                                                                                                     5.  ผู้ทีทำหน้าที่สอนในศูนย์การเรียนตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ หรือสถานที่เรียนที่หน่วยงานจัดการศึกษานอกระบบและตามอัธยาศัย บุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ โรงพยาบาล สถาบันทางการแพทย์ สถานสงเคราะห์ และสถาบันสังคมอื่นเป็นผู้จัด                                                                                                                                 6.  คณาจารย์ ผู้บริหารสถานศึกษา และผู้บริหารการศึกษาในระดับอุดมศึกษาระดับปริญญาทั้งของรัฐและเอกชน                                                                                                                                                                                                  7.  ผู้บริหารการศึกษาระดับเหนือเขตพื้นที่การศึกษา                                                                                                                                8.  บุคคลอื่นตามที่คณะกรรมการคุรุสภากำหนด

9.ท่านเข้าใจความหมายโทษทางวินัย สำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา อย่างไร อธิบาย และโทษทางวินัยมีกี่สถาน อะไรบ้าง

                ตอบ  วินัย คือ กฎหมาย กฎ ข้อบังคับ ระเบียบ และแบบธรรมเนียมที่กำหนดไห้ปฏิบัติตาม หรือไม่ให้ปฏิบัติ                                                                                                                                                                               โทษทางวินัยสำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา มี 5 สถาน คือความผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรง

                1. ภาคทัณฑ์ เป็นโทษสำหรับกรณีกระทำผิดวินัยเล็กน้อย หรือมีเหตุ

อันควรลดหย่อน ซึ่งยังไม่ถึงกับจะต้องถูกลงโทษตัดเงินเดือน

นอกจากนี้ ในกรณีกระทำความผิดวินัยเล็กน้อย และมีเหตุอันควร

งดโทษ จะงดโทษให้โดยให้ทำทัณฑ์บนเป็นหนังสือหรือว่ากล่าวตักเตือนก็ได้

                2. ตัดเงินเดือน เป็นการลงโทษตัดเงินเดือนเป็นจำนวนเปอร์เซ็นต์ของ

เงินเดือนและเป็นจำนวนเดือน เช่น ตัดเงินเดือน 5% เป็นเวลา 2 เดือน เมื่อพ้นเวลา

                2 เดือนแล้วก็จะได้รับเงินเดือนตามปกติ

                3. ลดเงินเดือน เป็นการลงโทษโดยลดเงินเดือนเป็นจำนวนเปอร์เซ็นต์

เช่น ลดเงินเดือน 2% หรือ 4% ของอัตราเงินเดือนของผู้กระทำผิด

ความผิดวินัยร้ายแรง

                4. ปลดออก เป็นการลงโทษให้พ้นจากราชการ โดยได้รับบำเหน็จ

บำนาญเสมือนผู้นั้นลาออกจากราชการ

                5. ไล่ออก เป็นการลงโทษให้พ้นจากราชการ โดยไม่ได้รับบำเหน็จ


10.ท่านเข้าใจคำว่า เด็กเร่ร่อน เด็กกำพร้า เด็กที่อยู่ในสภาพลำบาก เด็กที่เสี่ยงต่อการกระทำผิด ทารุณกรรม ที่สอดคล้องกับ พรบ.คุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 อย่างไรจงอธิบาย ตามความเข้าของท่าน

                ตอบ เด็ก หมายถึง  มนุษย์ที่อยู่ระหว่างการเกิดและวัยแรกรุ่น ส่วนคำจำกัดความในทางกฎหมาย "เด็ก" หมายถึง ผู้เยาว์ หรือบุคคลที่มีอายุต่ำกว่าประชากรส่วนใหญ่ คำว่า "เด็ก" ยังอาจใช้อธิบายความสัมพันธ์กับผู้ปกครองหรือต่ออำนาจหน้าที่ หรือแสดงความเป็นส่วนหนึ่งในสกุล เผ่าหรือศาสนา และความหมายอื่น ๆ
                “เด็กกำพร้า หมายถึง เด็กที่บิดาหรือมารดาเสียชีวิต เด็กที่ไม่ปรากฏบิดามารดาหรือไม่สามารถสืบหาบิดามารดาได้

                เด็กที่อยู่ในสภาพยากลำบาก หมายถึง เด็กที่อยู่ในครอบครัวยากจนหรือบิดามารดาหย่าร้าง ทิ้งร้าง ถูกคุมขัง หรือแยกกันอยู่และได้รับความลำบาก หรือเด็กที่ต้องรับภาระหน้าที่ในครอบครัวเกินวัยหรือกำลังความสามารถและสติปัญญา หรือเด็กที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้   

                “เด็กที่เสี่ยงต่อการกระทำผิด หมายถึง เด็กที่ประพฤติตนไม่สมควร เด็กที่ประกอบอาชีพหรือคบหาสมาคมกับบุคคลที่น่าจะชักนำไปในทางกระทำผิดกฎหมายหรือขัดต่อศีลธรรมอันดี หรืออยู่ในสภาพแวดล้อมหรือสถานที่อันอาจชักนำไปในทางเสียหาย ทั้งนี้ ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

                ทารุณกรรม หมายถึง การกระทำหรือละเว้นการกระทำด้วยประการใด ๆ จนเป็นเหตุให้เด็กเสื่อมเสียเสรีภาพ หรือเกิดอันตรายแก่ร่างกายหรือจิตใจ การกระทำผิดทางเพศต่อเด็กการใช้เด็กให้กระทำหรือประพฤติในลักษณะที่น่าจะเป็นอันตรายแก่ร่างกายหรือจิตใจ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น